Play

โครงการรักษ์โลก

เยี่ยมชมโครงการ


CIRCULAR ECONOMY

Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน หมายถึง
ระบบอุตสาหกรรมที่วางแผนและออกแบบมาเพื่อ
คืนสภาพ หรือให้ชีวิตใหม่แก่วัสดุต่าง ๆ ในวัฏจักรชีวิต
ผลิตภัณฑ์ แทนที่จะทิ้งไปเป็นขยะ

เมื่อสิ้นสุดการบริโภค จะนำวัสดุที่เป็นองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นกลับมา สร้างคุณค่าใหม่ หมุนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่องโดยไม่มีของเสีย นอกจากนี้
ยังมุ่งเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างความสมดุลในการหมุนเวียนวัสดุกลับมาใช้ใหม่ควบคู่ไปกับการสร้างระบบ และการออกแบบที่มีประสิทธิภาพ

กฟผ. จึงได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
มาปรับใช้ในการดำเนินงาน โดยเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจ
แนวตรง (Linear Economy) ที่ก่อให้เกิดของเหลือทิ้ง และของเสีย
ปริมาณมากตกค้างในระบบนิเวศ เป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำวัสดุจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ ร่วมกับการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

โครงการห้องเรียนสีเขียว

“สร้างสังคมภูมิปัญญาด้านพลังงานต่อคนไทย” (Knowledge - Based Society) เพื่อส่งเสริมมองค์ความรู้ และทัศนคติที่ดีในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ให้แก่เยาวชน บุคลากรในสถานศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งสร้าง
เครือข่ายด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม โดยทาง กฟผ. และหน่วยงานพันธมิตรได้ร่วมกันพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนในการเป็นวิทยากรแกนนำในรูปแบบกิจกรรมอบรม/สัมมนาสนับสนุนให้ครูแกนนำ
จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน และนักเรียนนำไปขยายผลสู่ครอบครัว และชุมชน

GREEN SCHOOL CAMP

ปี 2561

ค่ายห้องเรียนสีเขียวรักพลังงาน 17 ครั้ง 340 โครงการ

ปี 2561

ค่าย Green school camp ห้องเรียนสีเขียว
รักพลังงาน ระดับประเทศครั้งที่่ 1

ปี 2562

ค่ายนวัตกรรมห้องเรียนสีเขียวสู่โรงเรียนสีเขียวยั่งยืน

โครงการส่งเสริม และสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานจึงได้ร่วมดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติ โดยการส่งเสริม และสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ในพระราชูปถัมภ์ฯ ด้วยการติดตั้งหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน และการใช้พลังงานทดแทน

ผลการดำเนินงานโครงการห้องสีเขียว

ผลการดำเนินงาน

ผลสำเร็จของโครงการ

ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนสีเขียว

โรงเรียนต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 196 โรงเรียน

ผลสำเร็จของโครงการ

สถานศึกษาและครัวเรือนสามารถ ลดหน่วยการใช้ไฟฟ้าสะสม (Energy Saving) 19,669,565.15 KWh

ผลการดำเนินงาน

อาคารเบอร์ 5 ในสถานศึกษา 13 โรงเรียน

ผลสำเร็จของโครงการ

ลดการปล่อยก๊าซ CO2 สะสม (CO2 Emission Rrduction) 10,903,710.57 kgCO2

ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนคาร์บอนต่ำ

ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่โรงเรียน 449 โรงเรียน

ผลสำเร็จของโครงการ

ลดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าสะสม (Energy Cost Saving) 82,898,581.88 ล้านบาท

ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนคาร์บอนสู่ชุมชน

ลดใช้พลังงานไฟฟ้าที่บ้านนักเรียน 275 โรงเรียน

ผลสำเร็จของโครงการ

สถานศึกษาและครัวเรือนสามารถ ลดหน่วยการใช้ไฟฟ้าสะสม (Energy Saving) จำนวนครัวเรือน 90,708 ครัวเรือน

หมายเหตุ : ข้อมูลปี 2563

ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนสีเขียว

โรงเรียนต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 196 โรงเรียน

อาคารเบอร์ 5 ในสถานศึกษา 13 โรงเรียน

โรงเรียนคาร์บอนต่ำ

ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่โรงเรียน 449 โรงเรียน

โรงเรียนคาร์บอนสู่ชุมชน

ลดใช้พลังงานไฟฟ้าที่บ้านนักเรียน 275 โรงเรียน

ผลสำเร็จของโครงการ

สถานศึกษาและครัวเรือนสามารถ ลดหน่วยการใช้ไฟฟ้าสะสม (Energy Saving) 19,669,565.15 KWh

ลดการปล่อยก๊าซ CO2 สะสม (CO2 Emission Rrduction) 10,903,710.57 kgCO2

ลดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าสะสม (Energy Cost Saving) 82,898,581.88 ล้านบาท
สถานศึกษาและครัวเรือนสามารถ ลดหน่วยการใช้ไฟฟ้าสะสม (Energy Saving) จำนวนครัวเรือน 90,708 ครัวเรือน

หมายเหตุ : ข้อมูลปี 2563

ความเป็นมา
งานการจัดการด้วยการใช้ไฟฟ้า
แนวทางปฏิบัติ
การดำเนินงาน
ผลการดำเนินโครงการฉลากเบอร์ 5

ฉลากเบอร์ 5 / บ้านเบอร์ 5

ความเป็นมาจากการขยายตัวของสังคม และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำเป็นต้องขยายแหล่งผลิตเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น ซึ่งนอกจากจะต้องจัดหาแหล่งผลิต และใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแล้ว การนำเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ยังต้องใช้เงินลงทุนสูง และมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

ความเป็นมา

โครงการประชาร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า

งานการจัดการด้วนการใช้ไฟฟ้า (Demand Side Management หรือ DSM) เป็นภารกิจที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ กฟผ. ดำเนินการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2534 และได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2536 ภายใต้ชื่อ “โครงการประชาร่วมใจประหยัดไฟฟ้า” (Together Conservation) และได้ดำเนินการโครงการ “ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” มาโดยตลอด

งานการจัดการด้วยการใช้ไฟฟ้า

ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

ปัจจุบัน กฟผ. ยังคงดำเนินการต่อเนื่องกับ โครงการ “ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” โดยการประสานแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพลังงาน โดยร่วมเป็นคณะทำงานด้านมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานดูแลงานฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ซึ่งมีมาตรฐานตรากระทรวงพลังงานกำกับอยู่ในรูปลักษณ์โฉมใหม่ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

แนวทางปฏิบัติ

ต่อยอดไปยังกลยุทธ์ “3 อ.”

เพื่อให้การดำเนินโครงการ “ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ” บรรลุผลในการลดการใช้พลังงานโดยรวมของชาติ และลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจอย่างจริงจังจากทุกๆ ฝ่าย ดังนั้น กฟผ. จึงใช้แนวทางในการดำเนินโครงการจึงมุ่งที่จะใช้วิธีจูงใจ โดยการสร้างการรับรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างรู้คุณค่า แก่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกตามประเภทของผู้ใช้ไฟฟ้า คือ กลุ่มภาคที่อยู่อาศัย กลุ่มภาคธุรกิจ และกลุ่มภาอุตสาหกรรม ด้วยการใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “3 อ.” คือ อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า อาคารประหยัดไฟฟ้า และอุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า

การดำเนินงาน

ผลการดำเนินโครงการฉลากเบอร์ 5

โครงการฉลากเบอร์ 5 เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบันโดยมีส่วนช่วยในการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่เริ่มโครงการ-ปี 2563 รวม 31,880 GWh คิดเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้รวม 17.87 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่านอกจากนี้ การดำเนินงานโครงการฉลากเบอร์ 5 ของ กฟผ.ยังเป็นส่วนสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ตามที่ประเทศไทยได้แสดงเจตน์จำนงผ่านการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (NAMA) ภายใต้มาตรการเกณฑ์มาตรฐาน และติดฉลากอุปกรณ์เบอร์ 5 มาตั้งแต่ปี <br>2558 - ปัจจุบัน โดยมีปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกรวม 3.33 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ผลการดำเนินโครงการฉลากเบอร์ 5

กลยุทธ์ 3 อ.

อ. อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า

ภาคที่อยู่อาศัยกลุ่มประชาชนในภาคที่อยู่อาศัย เป็นกลุ่มที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณร้อยละ 25 ของปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ การดำเนินการในภาคที่อยู่อาศัยนี้จึงมุ่งเป้าหมายไปที่การส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงโดย กฟผ. ได้รับความร่วมมือจากบริษัทผู้ผลิต/ผู้นำเข้า
และผู้ประกอบการผลิต และนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงประหยัดไฟ ซึ่งนอกจากจะเป็นการผลักดันให้มีการพัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ให้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงตามไปด้วยแล้ว ยังทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น หลอดอ้วน
หมดไปจากตลาดเมืองไทยอีกด้วย

อ. อาคารประหยัดไฟฟ้า

สัดส่วนการใช้พลังงานในภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 75 ของการใช้พลัังงานทั้งประเทศ ยิ่งมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นเท่าใด การใช้พลังงานจะสูงตามไปด้วย และเพื่อให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม
เห็นความสำคัญ และพร้อมใจกันใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง เช่นเดียวกับกลุ่มภาคที่อยู่อาศัยพร้อมไปกับการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิด “อ” ที่สอง คือ อาคาร/โรงงาน ประหยัดไฟฟ้าซึ่ง ได้แก่ การบริหารการใช้ไฟฟ้าการปรับปรุงระบบป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร การใช้ระบบปรับอากาศประสิทธิภาพสูง และการปรับปรุงระบบแสงสว่าง การจัดการอบรมให้ความรู้
ด้านการใช้พลังงานอย่างถูกต้องลดต้นทุนการผลิตสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

อ. อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า

ถึงแม้ว่าจะได้มีการส่งเสริมให้มีการใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าในภาค
ที่อยู่อาศัย และอาคารประหยัดไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมประสบความสำเร็จแล้วก็ ทัศนคติหรือ การรับรู้เรื่องการประหยัดพลังงาน มีความจำเป็นต้องตอกย้ำ และสร้างองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง กฟผ. ได้ดำเนินโครงการปลูกฝังอุปนิสัยการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพแก่เยาวชน และประชาชน โดยประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานครจัดตั้ง “ห้องเรียนสีเขียว” (GREEN LEARNING ROOM) เพื่อเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมในการใช้ไฟฟ้าอย่าง
มีประสิทธิภาพแก่เยาวชนของชาติตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมโดยผ่านระบบการศึกษาของประเทศเพื่อปลูกฝังอุปนิสัยการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพให้ยั่งยืน ปัจจุบันมีห้องเรียนสีเขียวอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ

CONCEPT บ้านเบอร์ 5

บ้านเดี่ยว

บ้านแฝด
บ้านแถว

เนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 50 ตารางวา โดยเมื่อทำการปลูกสร้างบ้านแล้ว ต้องมีพื้นที่เปิดโล่งเพียงพอที่จะทำช่องเปิดได้หรือบ้านเดี่ยวที่การเคหะแห่งชาติจัดสรร

ก่อสร้างติดกันสองบ้าน มีผนังร่วมกัน มีที่ว่างระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับอาคารด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างของแต่ละบ้าน และมีทางเข้าแต่ละบ้านแยกจากกันเป็นสัดส่วน

บ้านแถวหรือตึกแถวที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับอาคารแต่ละคูหา และมีความสูงไม่เกิน 3 ชั้น

อาคารเบอร์ 5

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.
สำนักงานกลางแหล่งเรียนรู้อาคารเขียว

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลางแหล่งเรียนรู้อาคารเขียว ตามมาตรฐานการประเมินความยั่งยืนทางพลังงาน และสิ่งแวดล้อมไทย (TREES) กฟผ. ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการลดใช้พลังงานออกแบบอาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง (EGAT Learning Center, Headquarters) แหล่งเรียนรู้ต้นแบบอาคารประหยัด พลังงาน ผ่านการประเมินอาคารตามมาตรฐานเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงาน และสิ่งแวดล้อมไทย (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability : TREES) โดยสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI) ในระดับคะแนนช่วงสูงสุด (Platinum) นับเป็นอาคารแห่งแรกของ กฟผ. ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน TREES ในระดับ Platinum นายวิรัช อุดมพงศ์ลักขณา ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบและบริหารงานก่อสร้าง เปิดเผยว่าศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง ได้รับการออกแบบอย่างพิธีพิถันสร้าง และดำเนินการโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรพลังงาน และสภาพแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการก่อมลภาวะ ลดการใช้พลังงาน ลดการใช้น้ำและสร้างพื้นที่ที่มีคุณค่าเพิ่มคุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้อาคาร โดยผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐาน TREES ซึ่งเป็นมาตรฐานอาคารอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย ในระดับคะแนนช่วงสูงสุด (Platinum) สำหรับอาคารก่อสร้าง และปรับปรุงโครงการใหม่ (New Construction) ด้วยคะแนน 62 คะแนน จากคะแนนเต็ม 85 คะแนน ตามการพิจารณาทั้ง 8 หมวด ได้แก่ 1. การบริหารจัดการอาคาร 2. ผังบริเวณภูมิทัศน์ 3. การประหยัดน้ำ 4. พลังงานและบรรยากาศ 5. วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง 6. คุณภาพของสภาพแวดล้อมภายในอาคาร 7. การป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม 8. นวัตกรรม โดยเริ่มประเมินตั้งแต่ ขั้นตอนการวางแผนการก่อสร้างเป็นต้นมาเพื่อให้การบริหารจัดการค่าการใช้พลังงานสุทธิสำหรับอาคารสำนักงาน ไม่เกินค่าที่กำหนด 171 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตางรางเมตรต่อปี (Building energy code , BEC) ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ของกระทรวงพลังงาน แต่อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลางได้ตรวจวัดค่าการใช้พลังงงานสุทธิจริง สามารถวัดได้เพียง 126 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตางรางเมตร ต่อปีเท่านั้น นับได้ว่าศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง เป็นอาคารแห่งแรกของ กฟผ. ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน TREES ในระดับ Platinum สะท้อนภาพลักษณ์ที่ดีของ กฟผ. ในการเป็นผู้นำการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากในด้านการเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงาน ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง ยังได้รับการออกแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงาน โดยนำเสนอองค์ความรู้ผ่านสื่อนิทรรศการ พร้อมเปิดให้เยี่ยมชมอาคารและการบริหารการใช้พลังงานและทรัพยากรภายในพื้นที่ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถมาเรียนรู้ และนำไปต่อยอด หรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ กฟผ. มุ่งมั่นสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าควบคู่กับการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม จึงให้ความสำคัญ กับการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน เป็นการอนุรักษพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ส่งผลให้สามารถจัดการการใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสม ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ กฟผ. เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการและอาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยเปิดให้บริการวันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 -16.00 น. (หยุดวันจันทร์ และวันหยุด นักขัตฤกษ์) สามารถติดต่อ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง https://www.facebook.com/egatlearningcenter/ หรือโทร. 0 2436 8952

EGAT GO GREEN

“รักษ์สิ่งแวดล้อมง่าย ๆ ทำได้ในชีวิตประจำวัน”

ดำเนินงานรณรงค์การรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใน กฟผ. ภายใต้แนวคิด“รักษ์สิ่งแวดล้อมง่าย ๆ ทำได้ในชีวิตประจำวัน” ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจาก"เรื่องง่าย ๆ" ที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน โดยสร้างการรับรู้ โน้มน้าวใจให้เกิดแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติ รวมถึงเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษ์สิ่งแวดล้อม และสร้างความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม