การดูแลคุณภาพอากาศ
พันธกิจของ กฟผ. ไม่ได้มีเพียงการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าแต่ยังให้ความสําคัญกับการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่าง ต่อเนื่อง พร้อมนำนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมมาสนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้า อาทิ ระบบพยากรณ์ลม รวมทั้งการสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อหาต้นตอปัญหาคุณภาพอากาศที่กำลังกระทบวิถีชีวิตของคนไทย หวังให้เกิดคุณภาพอากาศที่ดี เพื่อสานต่อลมหายใจที่บริสุทธิ์ของประชาชนในเขตนครหลวง เป็นลมหายใจแห่งอนาคต Breathe our Future ที่ทุกคนต้อง รวมพลังดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นตลอดไป
การทดสอบเดินเครื่องกังหันก๊าซ
(First Fire)
กฟผ. ทดสอบเดินเครื่องครั้งแรก โครงการโรงไฟฟ้าบางปะกงทดแทน 1-2
การทดสอบการเดินเครื่องกังหันก๊าซ (First Fire) สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และจากมาตรการต่าง ๆ ที่โครงการฯ ดำเนินการอย่างเคร่งครัด จึงไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้า
ระบบพยากรณ์ลม AR-QADS
คุณภาพอากาศเป็นปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งที่ได้รับความใส่ใจมาก ทาง กฟผ. จึงได้พัฒนาระบบเฝ้าระวังคุณภาพอากาศเพื่อการดูแลรักษาคุณภาพอากาศของพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า และเหมืองของ กฟผ. ที่มีชื่อว่าระบบพยากรณ์ลม หรือ "AR-QADS (AiR Quality Automated-program for Decision-making Support)
เป็นระบบเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และเหมืองของ กฟผ. ระบบประกอบด้วยการพยากรณ์ข้อมูลลม และสภาพอากาศ และระบบพยากรณ์ระดับความเข้มข้นของมวลสาร ทั้งนี้ระบบมีการพยากรณ์ข้อมูลสำคัญ
ต่าง ๆ
แบบรายชั่วโมงล่วงหน้า 7 วัน ด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ บนระบบคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง"
ซึ่งปัจจุบันสามารถพยากรณ์ข้อมูลลมรายชั่วโมง และสภาพอุตุนิยมวิทยา ครอบคลุมพื้นที่โรงไฟฟ้าของ กฟผ. และพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งสิ้น 9 พื้นที่ ได้แก่
พื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
พื้นที่รอบบริเวณอ่างพักน้ำตอนบน
ของโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา
พื้นที่คาบสมุทรอินโดจีน
พื้นที่รอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ
พื้นที่รอบโรงไฟฟ้าบางปะกง
พื้นที่อำเภอเทพา
จังหวัดสงขลาและเส้นทางการเดินเรือ
พื้นที่รองโรงไฟฟ้ากระบี่
และเส้นทางเดินเรือโรงไฟฟ้ากระบี่
วิกฤตฝุ่น PM2.5 ที่ทั่วโลก และประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันมีสาเหตุหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป ที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น และปัญหาไฟป่าที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากอุณภูมิที่สูงขึ้น
ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และสุขภาพของประชาชน
กฟผ. ตระหนัก และให้ความสําคัญกับการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเรื่องของคุณภาพอากาศผ่านกระบวนการทำงานที่มีมาตรฐาน และส่งเสริมการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนา
และนำนวัตกรรมมาใช้ เช่นการติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศในกระบวนการผลิตไฟฟ้า การผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การทดสอบประสิทธิภาพ และออกฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ให้แก่ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
การปลูก และรักษาป่า และการผนึกกำลังพันธมิตรจัดทำแอปพลิเคชั่น รวมถึงการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ ตลอดจนการส่งต่อความรู้ด้านพลังงาน และการอนุรักษ์สิงแวดล้อมสู่สังคมผ่านห้องเรียนสีเขียว และศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ซึ่งเปิดให้บริการกระจายอยู่ 6 แห่งทั่วประเทศไทย
ภายใต้การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม กฟผ. ได้กำหนดแผนการจัดการพลังงาน และสิ่งแวดล้อมทางอากาศของ กฟผ. (EGAT Air TIME) ที่มีเป้าหมายในการจัดการปัญหาด้านคุณภาพอากาศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Air Quality & Climate Change) ดังนั้นเพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกัน และลดปัญหามลภาวะทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน และสิ่งแวดล้อมของประเทศ อีกทั้งเพื่อสนองนโยบายภาครัฐที่ได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหามลภาวะฝุ่นละอองทางอากาศเป็นวาระแห่งชาติ
และเป้าหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP21) กฟผ. จึงได้เดินหน้าพร้อมจับมือหน่วยงานพันธมิตรร่วมบูรณาการดำเนินงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ในการดูแลคุณภาพอากาศ ร่วมสร้างคุณภาพอากาศที่ดีให้กับคนไทย อันจะนำไปสู่ผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในวงกว้างต่อไป
EGAT Air TIME เป็นการบูรณาการและวางรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแล รักษา บริหารจัดการคุณภาพอากาศของ กฟผ. ทั้งในลักษณะ CSR in process และในลักษณะ CSR after process ผ่านแนวคิดการดำเนินงานใน 4 มิติ (T-I-M-E) ประกอบด้วย
EGAT Air TIME
T-I-M-E
Breathe our Future
Challenge EGAT
ลด ละ รอด ปลอดฝุ่น
วิกฤตฝุ่น PM2.5 ที่ทั่วโลก และประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันมีสาเหตุหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป ที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น และปัญหาไฟป่าที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากอุณภูมิที่สูงขึ้น
ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และสุขภาพของประชาชน
กฟผ. ตระหนัก และให้ความสําคัญกับการดูแลสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเรื่องของคุณภาพอากาศผ่านกระบวนการทำงานที่มีมาตรฐาน และส่งเสริมการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนา
และนำนวัตกรรมมาใช้ เช่นการติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศในกระบวนการผลิตไฟฟ้า การผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การทดสอบประสิทธิภาพ และออกฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ให้แก่ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
การปลูก และรักษาป่า และการผนึกกำลังพันธมิตรจัดทำแอปพลิเคชั่น รวมถึงการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ ตลอดจนการส่งต่อความรู้ด้านพลังงาน และการอนุรักษ์สิงแวดล้อมสู่สังคมผ่านห้องเรียนสีเขียว และศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ซึ่งเปิดให้บริการกระจายอยู่ 6 แห่งทั่วประเทศไทย
ภายใต้การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม กฟผ. ได้กำหนดแผนการจัดการพลังงาน และสิ่งแวดล้อมทางอากาศของ กฟผ. (EGAT Air TIME) ที่มีเป้าหมายในการจัดการปัญหาด้านคุณภาพอากาศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Air Quality & Climate Change) ดังนั้นเพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกัน และลดปัญหามลภาวะทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน และสิ่งแวดล้อมของประเทศ อีกทั้งเพื่อสนองนโยบายภาครัฐที่ได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหามลภาวะฝุ่นละอองทางอากาศเป็นวาระแห่งชาติ
และเป้าหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP21) กฟผ. จึงได้เดินหน้าพร้อมจับมือหน่วยงานพันธมิตรร่วมบูรณาการดำเนินงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ในการดูแลคุณภาพอากาศ ร่วมสร้างคุณภาพอากาศที่ดีให้กับคนไทย อันจะนำไปสู่ผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในวงกว้างต่อไป
EGAT Air TIME เป็นการบูรณาการและวางรูปแบบการดำเนินงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแล รักษา บริหารจัดการคุณภาพอากาศของ กฟผ. ทั้งในลักษณะ CSR in process และในลักษณะ CSR after process ผ่านแนวคิดการดำเนินงานใน 4 มิติ (T-I-M-E) ประกอบด้วย
กฟผ. กับสิ่งแวดล้อมและต้นตอฝุ่นจิ๋ว PM2.5 รอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ
กฟผ. กับสิ่งแวดล้อมและต้นตอฝุ่นจิ๋ว PM2.5 รอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ
ดังนั้นการดูแลสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าจึงมีส่วนสำคัญต่อการอาศัยอยู่ร่วมกับคนในชุมชน โดยโรงไฟฟ้าพระนครเหนือมีการตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างเข้มงวดใน 2 ลักษณะไปพร้อมกัน ประกอบด้วย
นอกจากนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ (อสค.) จับมือร่วมกับโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ (อฟน.) เดินหน้าสนับสนุน
งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงการค้นหาต้นตอที่แท้จริงของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จึงผลักดันให้มีการสนับสนุนทุนวิจัย กฟผ. แก่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ในการวิจัยโครงการการสำรวจมลสารทางอากาศการจำแนกแหล่งกำเนิดของฝุ่น กรณีศึกษาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ เพื่อจัดทำบัญชีการระบายมลสารทางอากาศ และจัดทำฐานข้อมูลค่าปัจจัยการปล่อยมลสารสำหรับโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ และพื้นที่ใกล้เคียง รวมไปถึงการศึกษาระดับฝุ่น PM2.5 พร้อมจำแนกแหล่งกำเนิดของฝุ่นในชุมชนใกล้เคียงโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ
โดยมีข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับต้นตอของฝุ่น PM2.5 ซึ่งสามารถแบ่งเป็นแหล่งกำเนิดหลักๆได้ ดังนี้ โดยในพื้นที่ศึกษาโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี แหล่งกำเนิดกลุ่มที่มีสัดส่วนมากที่สุด คือฝุ่นจากถนนและยานพาหนะ แหล่งกำเนิดที่มีสัดส่วนรองลงมาได้แก่ คือ แหล่งกำเนิดฝุ่นจากการเผาชีวมวล แหล่งกำเนิดฝุ่นจากละอองทะเลและฝุ่นดิน และ แหล่งกำเนิดฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม ตามลำดับ
สำหรับพื้นที่ศึกษาบริเวณมัสยิดรี่ยาดิ๊สสุนัน แหล่งกำเนิดกลุ่มที่มีสัดส่วนมากที่สุด คือ แหล่งกำเนิดฝุ่นจากการเผาชีวมวล รองลงมาได้แก่ แหล่งกำเนิดฝุ่นจากถนนและยานพาหนะ แหล่งกำเนิดฝุ่นจากละอองทะเลและฝุ่นดิน และ แหล่งกำเนิดฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม ตามลำดับ