Play

การบริหารจัดการ
ก๊าซเรือนกระจก

เยี่ยมชมโครงการ


การเปลี่ยนผ่านจาก NAMA สู่ NDC

        ประเทศไทยได้เข้าร่วมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก โดยประกาศเจตจำนงลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Action : NAMA) ในปี พ.ศ.2563 ให้ได้ร้อยละ 7-20 หรือคิดเป็น 24-74 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e) จากภาคพลังงานและขนส่ง และภายหลังปี พ.ศ.2563 ซึ่งเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) ก็ได้ประกาศเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ในปี พ.ศ.2573 ให้ได้ร้อยละ 20-25 หรือคิดเป็น 111-139 MtCO2e จากทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ โดยผลการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2561 สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 57.84 MtCO2e หรือคิดเป็นร้อยละ 15.76 เป็นไปตามเป้าหมายที่ประกาศเจตจำนงไว้

         กฟผ. ได้ร่วมสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตาม NAMA ผ่าน 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน มาตรการ
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า และมาตรการเกณฑ์มาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เบอร์ 5 โดยในปี พ.ศ.2563 ที่การดำเนินงาน NAMA สิ้นสุดลง กฟผ. มีส่วนสนับสนุน
การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศจำนวน 8.75 MtCO2e

          สำหรับการลดก๊าซเรือนกระจกในช่วง NDC นั้น กฟผ. จะดำเนินการตามแผนระยะยาวการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กฟผ. พ.ศ.2561-2573 ซึ่งจัดทำเพื่อรองรับนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ณ ปี พ.ศ.2573 ที่ 10 MtCO2e

ก้าวสู่เป้าหมายใหม่ NDC

เป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกจากทุกภาคส่วน (Economy-Wide) ตามข้อเสนอการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด หรือ NDC (Nationally Determined Contribution) อยู่ที่ร้อยละ 20-25 หรือ คิดเป็น ไม่น้อยกว่า 111 MtCO2e จากการดำเนินงาน
ในกรณีปกติ ภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030)

กฟผ. นับเป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักที่สำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ภาคผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย จึงพร้อมเดินหน้าสนับสนุนกระทรวงพลังงานและประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมาย NDC โดยกำหนด เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2573 ตามแผน ระยะยาวการบริหาร จัดการก๊าซเรือนกระจก กฟผ. พ.ศ.2561-2573 ไว้ที่ 10 MtCO2e ผ่านการดำเนินงาน ลดก๊าซเรือนกระจกภายในองค์การจาก 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า และมาตรการเกณฑ์มาตรฐาน และติดฉลากอุปกรณ์เบอร์ 5 โดยมีค่าคาดการณ์การลดก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2573 อยู่ที่ 17.26 MtCO2

ใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) เป็นกลไกสากลที่ กฟผ. รับจากเจ้าของกลไก The International REC Standard เข้ามาใช้ในประเทศไทย โดยเปิดตัวเป็นธุรกิจใหม่ของ กฟผ. ในงาน Thailand Clean Energy Network เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564

เครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate : REC )

เป็นกลไกที่ช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถอ้างสิทธิ์การผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ด้วยการรับรองจากหน่วยงานสากลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของกลไก ทำให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนและผู้ที่ใส่ใจต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนได้โดยง่าย โดยมีหน่วยการซื้อขาย คือ REC (โดยไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 1 MWh มีค่าเท่ากับ 1 REC)

บทบาทของ กฟผ.

การเป็นผู้ขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยเสนอขาย ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ.

บทบาทการเป็นผู้รับรอง REC กฟผ. เป็นผู้ได้รับสิทธิในการเป็นผู้รับรอง REC ตามมาตรฐาน I-REC เพียงรายเดียวของประเทศไทย

ทั้งนี้กระบวนการ
ซื้อขาย REC จะเริ่มต้น
ดังขั้นตอนต่อไปนี้

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซื้อขาย REC

ผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียน
(Registrant) (ชำระให้กับ กฟผ.)

0 บาท ค่าเปิดบัญชี Registrant

38,000 บาท ค่าขึ้นทะเบียนโรงไฟฟ้า (5 ปี)

15,200 บาท ค่าต่ออายุโรงไฟฟ้า

0.95 บาท ค่าธรรมเนียมการรับรอง REC (ต่อ MWh)

ผู้ซื้อ (Participant)
(ชำระให้กับ I-REC)

500 ยูโร ค่าเปิดบัญชี-ขาย

2,000 ยูโร ค่าธรรมรายปี

0 ยูโร ค่าเปิดบัญชี Redemption

0.06 ยูโร Redemption (ต่อ MWh)

ศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของ กฟผ.

การผลิต (MWh)

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ (ขนาดใหญ่)

5,849,329

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ (ขนาดเล็ก)

122,174

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ

1,166

โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์

9,717

<<<โรงไฟฟ้ากังหันลม

60,336

การนำ REC ไปใช้ประโยชน์

สืบเนื่องจากความตื่นตัวเพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลสภาพภูมิอากาศ และกระแสการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียนในระดับประเทศ และในระดับองค์กร REC จึงถูกนำไปใช้งานเพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะใช้พลังงานหมุนเวียน ในรายงานและการจัดอันดับของบริษัทชั้นนำต่างๆ อาทิเช่น รายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) รายงาน Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) รายงาน Carbon Disclosure Project (CDP) หรือการเข้าร่วมกลุ่ม RE100

How does REC support your “Renewables Journey”?

  • SDGs 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
  • SDGs 12 การผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบ
  • SDGs 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Dow Jones Sustainability Indices
รายงานที่จัดอันดับบริษัทชั้นนำของโลก
ตามกลุ่มอุตสาหกรรม
CDP
รายงานเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทชั้นนำ
RE 100
กลุ่มบริษัทชั้นนำของโลกที่รวมตัวกันและแสดงเจตจำนงที่จะใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในการดำเนินธุรกิจ
รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน มอบรางวัลให้แก่ผู้แทน บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ในฐานะที่เป็นผู้ซื้อ REC รายแรกของ กฟผ. ภายในงาน Thailand Clean Energy Network 2020 (TCEN2020)
งาน Thailand Clean Energy Network 2020 (TCEN2020)
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจก
ที่เหมาะสมของประเทศในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ
และเครื่องทำความเย็น (RAC NAMA)

กฟผ. ลงนามในสัญญาให้ทุน (Grant Agreement)
กับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)
เพื่อบริหารกองทุน RAC NAMA (ได้รับเงินทุนประมาณ 300 ล้านบาท)

ธ.ค.
2560
ลงนามในสัญญาให้ทุน (Grant Agreement) ระหว่าง กฟผ. และ GIZ
มาตรการทางการเงินสำหรับผู้บริโภค และผู้ผลิตเพื่อการปรับเปลี่ยนสายการผลิต
เม.ย.
2561
ก.ค.
2561
มาตรการทางการเงินเพื่อสนับสนุนการจัดฝึกอบรม
เงินทุนระยะสั้น (Revolving Fund) สำหรับผู้ผลิต
ส.ค.
2562
มิ.ย.
2563
มาตรการทางการเงินเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงห้องทดสอบ
สิ้นสุดโครงการ RAC NAMA
มี.ค.
2564

ภาพบรรยากาศ

Unknown
Unknown
Unknown
Unknown
Unknown
Unknown
Unknown
Unknown
Unknown

กองทุนนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมทำความเย็น (EGAT Cooling Innovation Fund : CIF)


  • เงินคงเหลือจากโครงการ RAC NAMA ประมาณ 150 - 170 ล้านบาท
  • วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีการทำความเย็นที่มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและผลักดันอุตสาหกรรมไทยไปสู่การใช้เทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียวที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ หรือเทคโนโลยีการทำความเย็นทางเลือก
  • ระยะเวลาดำเนินการ : 3 ปี (1 เมษายน 2564 - 31 มีนาคม 2567)
  • โครงการที่มีศักยภาพและสานต่อจากกองทุน RAC NAMA ได้แก่ 1) โครงการด้านการศึกษาและฝึกอบรม 2) การวิจัยและพัฒนา 3) โครงการสาธิตนวัตกรรม 4) เครือข่ายความร่วมมือด้านนวัตกรรมการทำความเย็น
  • ผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการกองทุน CIF จะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนประเทศให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกใน ปี 2030 ตามแผน การมีส่วนร่วมที่ประเทศ หรือ NDC (Nationally Determiend Contribution)

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER)

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลด ก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ และสามารถนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” ซึ่งภายใต้โครงการ T-VER นี้เรียกว่า "TVERs" ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในประเทศได้ ทั้งนี้ อบก. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอน ในการพัฒนาโครงการ ระเบียบวิธีการในการลดก๊าซเรือนกระจก (Methodology) การขึ้นทะเบียนและการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยจะต้องเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดการลด / ดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย

การดำเนินโครงการ T-VER ของ กฟผ.

กฟผ. ดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ตั้งแต่ปี 2557 ปัจจุบันมีโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ (คาร์บอนเครดิต) จาก อบก. ทั้งสิ้น 9 โครงการ และมีคาร์บอนเครดิตสะสมเท่ากับ 308,872 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)

ตารางที่ 1 ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกจาก โครงการ T-VER ที่ได้รับการรับรอง

Unknown
Unknown
Unknown
Unknown
Unknown
Unknown