Play

โครงการสิ่งแวดล้อม
เพื่อชุมชน

เยี่ยมชมโครงการ


เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากจะให้ประโยชน์ทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังอำนวยประโยชน์นานัปการต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคแถบนี้ทั้งทางด้านการชลประทานการ ป้องกันอุทกภัย การประมง และการท่องเที่ยว

ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟ้า เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวสร้างปิดกั้นแม่น้ำ
ลำโดมน้อยอันเป็นสาขาของแม่น้ำมูล ที่บริเวณแก่ง
แซน้อย ต.ช่องเม็ก อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ต.นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย
อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี) โรงไฟฟ้าติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 12,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 36,000
กิโลวัตต์

ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟ้า ได้เริ่มในเดือนมิถุนายน 2511 และมีการวาง
ศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ขนานนามเขื่อนว่า “เขื่อนสิรินธร” การก่อสร้าง
ตัวเขื่อน และระบบส่งไฟฟ้าระยะแรกแล้วเสร็จในปี 2514
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเขื่อนสิรินธรเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2514
หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2515 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้มอบเขื่อนสิรินธรให้อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ประโยชน์ เขื่อนสิรินธรเป็นโครงการอเนกประสงค์จึงสามารถอำนวย ประโยชน์อย่างกว้างขวางในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ดังนี้ การผลิตพลังงานไฟฟ้าสามารถใช้พลังน้ำมาผลิตพลังงานได้เฉลี่ยปีละ 90 ล้าน
กิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้ขยายขอบเขตการจ่ายกระแสไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกไปได้กว้างขวางขึ้น
การชลประทานสามารถส่งน้ำที่เก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำไปใช้ในระบบชลประทานได้เป็นพื้นที่ 152,000 ไร่ จึงช่วยให้เกษตรในแถบนี้ทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี นอกจากนี้ เขื่อนสิรินธรสามารถกักเก็บน้ำที่ไหล่บ่ามาตามแม่น้ำ
ลำโดมน้อยไว้ได้เป็นจำนวนมากจึงช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมและช่วยให้แม่น้ำมูลสามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงได้สะดวกยิ่งขึ้น ด้านการประมงอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธรเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่โดย กฟผ. ร่วมมือกับกรมประมงนำพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่มาปล่อย อาทิ ปลายี่สก ปลานิล ปลาไน และกุ้งก้ามกราม ทำให้ราษฎรมีอาชีพหลักเพิ่มขึ้น การคมนาคม สามารถใช้อ่างเก็บน้ำเป็นเส้นทางเดินเรือติดต่อค้าขาย และคมนาคมขนส่งผลผลิตออกสู่ตลาดได้สะดวกอีกทางหนึ่ง การท่องเที่ยว ความสวยงามสงบร่มรื่นของภายในบริเวณเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ เป็นสิ่งที่ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม และพักผ่อนหย่อนใจเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านธุรกิจท่องเที่ยวอื่น ๆ ตามไปด้วย

เขื่อนสิรินธรตั้งอยู่ที่ ต.นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี นอกจากจะให้ประโยชน์ทางด้านการชลประทาน และการเกษตร รวมถึงประโยชน์ในด้านการผลิตไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวสุดฮิตที่นักท่องเที่ยวมากมายต่างแวะเวียน เข้ามาชมความสวยงามของอ่างเก็บน้ำอันกว้างใหญ่ของเขื่อน

สถานที่ท่องเที่ยว

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด ใหญ่ที่สุดในโลก

โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร ที่ได้ติดตั้งแผง
โซลาร์เซลล์บนผืนน้ำอันกว้างใหญ่พื้นที่กว่า 450 ไร่ ซึ่งมีจุดเด่นที่
ไม่เหมือนใครอยู่ที่ระบบสามารถผลิตไฟฟ้าได้ทั้งจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลัก และเมื่อไม่มีแสงแดดหรือในเวลากลางคืน ก็สามารถนำพลังน้ำจากเขื่อนสิรินธรมาผลิตไฟฟ้าได้ โดยมีกำลังการผลิต 45 เมกกะวัตต์ ซึ่งลดข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียนที่มักขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงานอีกด้วย นับว่าเป็นนวัตกรรมไฮบริดสุดล้ำของ กฟผ. ที่แรกของประเทศไทยและยังมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยเตรียมเปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วทุกมุมโลกเข้ามาสัมผัส
โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแห่งนี้อย่างใกล้ชิดประมาณกลางปี 2564

เส้นทางเดินชมธรรมชาติ (Nature Walkway)

หากยังชมความอลังการของโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร
ยังไม่จุใจ ลองมาเปลี่ยนมุมชมความกว้างใหญ่ของโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ ในมุมที่สูงขึ้นไปอีกนิด ตามเส้นทางเดินชมธรรมชาติ (Nature Walkway) ความยาวกว่า 415 เมตร เส้นทางอันร่มรื่นที่รายล้อมไปด้วยมวลหมู่พันธุ์ไม้ท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี ที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยว ได้เข้ายลโฉมในระยะแรกของเส้นทางชมธรรมชาติ ความยาว 200 เมตร ประมาณปลายปีนี้ ให้ทุกท่านได้ถ่ายรูปสุดอินเทรนด์อวดโลกโซเชียล ได้ก่อนใคร หากใครเป็นสายถ่ายภาพอาร์ต ๆ รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอน

สันเขื่อนสิรินธร

มุมมหาชนบริเวณสันเขื่อนสิรินธรแห่งนี้ ที่นอกจากจะเห็นมุมของถนน ทอดยาวเป็นทางโค้งรับกับมุมกว้างใหญ่ของอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีพื้นที่ ประมาณ 288 ตารางกิโลเมตร และยังเห็นวิวภูเขากับท้องฟ้าไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา นับเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชม และพักผ่อนหย่อนใจไม่ขาดสาย หรือจะมาวิ่งออกกำลังกายสัมผัสบรรยากาศริมเขื่อนก็น่าสนใจไม่น้อย

ผาตั้ง

<เปลี่ยนบรรยากาศมาล่องเรือหรือล่องแพในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนสิรินธรกันบ้าง ถัดจากโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด หากล่องเรือมาตามทางของกระแสน้ำจะพบกับหินผาริมน้ำ ที่เป็นจุดแวะพักของเรือแพ และยังเป็นจุด วัดใจนักท่องเที่ยวที่ชอบความท้าทายปีนขึ้นไปเพื่อกระโดดลงน้ำ
ในระดับสูงขึ้นไปอีก ทำเอาแอบใจเต้นเล็กน้อยเมื่อได้ไปยืนอยู่บนผา แต่หากใครไม่ชอบความตื่นเต้นก็สามารถแวะพักเล่นน้ำบริเวณเดียวกันได้อย่างจุใจ

วัดป่าโพธิญาณ (วัดเกาะ)

ใครที่เป็นสายบุญ ต้องมาแวะที่วัดป่าโพธิญาณหรือชุมชนท้องถิ่นนิยม เรียกว่า วัดเกาะ หรือวัดเขื่อน นอกจากนี้ยังสร้างอุโบสถยื่นออกไปในอ่างเก็บน้ำ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวัดแห่งนี้ และในช่วงเช้า
พระสงฆ์จะนั่งเรือเพื่อออกไปบิณฑบาตอีกด้วย

วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว (วัดเรืองแสง)

วัดเรืองแสง ตั้งอยู่ที่ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ซึ่งได้จำลอง
สภาพแวดล้อมของวัดป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส มีจุดเด่นอยู่ที่
การมาชมภาพเรืองแสงของจิตรกรรมจากภาพต้นกัลปพฤกษ์ที่อยู่
บนผนังด้านหลังของอุโบสถในยามค่ำคืนที่เกิดจากการใช้โมเสกที่มี
สารเรืองแสงตกแต่งบริเวณรอบ ๆ 

บ้านพักรับรองของเขื่อนสิรินธร

สำหรับใครที่อยากพักค้างคืนเพื่อสัมผัสกับบรรยากาศธรรมชาติรอบเขื่อนสิรินธร กฟผ. ตื่นเช้ามาชมวิวรอบเขื่อนสูดอากาศบริสุทธิ์
ทางเขื่อนสิรินธรก็มีบ้านพักรับรองให้พักกันได้หลากหลายสไตล์
สนใจโทรสำรองที่พักได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 045366085 หรือ 0892803197

ร้านอาหารเรือนโดมน้อย

ตั้งอยู่ภายในเขื่อนสิรินธร ร้านอาหารริมอ่างเก็บน้ำบรรยากาศเย็นสบายเหมาะแก่การรับลมธรรมชาติ ที่นี่ขึ้นชื่อโดยเฉพาะเมนูปลาจากแม่น้ำโขง หรือเมนูหมูยออุบลที่ขึ้นชื่อ ราคาไม่แพง เรียกได้ว่ามาเขื่อนสิรินธรต้องแวะชิมเมนูปลาของร้านอาหารเรือนโดมน้อยสักครั้ง รับรองว่าเด็ดจริง

ร้านกาแฟคุณสายชล (ร้านกาแฟโดมน้อย)

มีเครื่องดื่มไว้ดับกระหายให้กับนักท่องเที่ยวด้วยเมนูหลากหลาย
รสชาติดี๊ดี มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของร้าน ทั้งเครื่องดื่มร้อน เครื่องดื่มเย็น หรือปั่นเพื่อเพิ่มความสดชื่น รับประทานคู่กับขนม หรือเค้กแสนอร่อยก็เข้ากั๊นเข้ากันราคาไม่แพงแถมยังได้นั่งชมบรรยากาศสุดชิว
ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธรได้เพลิน ๆ

ตลาดโดมน้อย

เมื่อเที่ยวจนเต็มอิ่มแล้วก่อนเดินทางกลับบ้านก็อย่าลืมมาเลือกซื้อสินค้า จากชุมชนท้องถิ่นรอบเขื่อนสิรินธรที่ตลาดโดมน้อย ที่สำคัญยังช่วย อุดหนุนสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดในภาพรวมอีกด้วย

10 จุดเช็คอิน เขื่อนสิรินธร

  1. โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด ใหญ่ที่สุดในโลก
  2. เส้นทางเดินชมธรรมชาติ (Nature Walkway)
  3. สันเขื่อนสิรินธร
  4. ผาตั้ง
  5. วัดป่าโพธิญาณ (วัดเกาะ)
  6. วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว (วัดเรืองแสง)
  7. บ้านพักรับรองเขื่อนสิรินธร
  8. ร้านอาหารเรือนโดมน้อย เขื่อนสิรินธร
  9. ร้านกาแฟโดมน้อย (คุณสายชล)
  10. ตลาดโดมน้อย

เกมส์กังหันลอยลม

วันนี้เราขออาสาพาทุกท่านไปหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี นั่นก็คือ “เขื่อนสิรินธร” ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แต่จะไปทั้งทีจะไปแบบธรรมดาได้ไงล่ะ ให้น้องเอนจี้พาบินไปเที่ยวกันเลย

ชีววิถี กฟผ.

ชีวิตที่พอเพียง ตามแบบพ่อที่พอเพียง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2539 ความว่า “…การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก…”

โครงการภูมิชุมชน

โครงการภูมิชุมชน กฟผ. กับการพัฒนาชุมชนและไฟฟ้าอย่างยั่งยืนโครงการภูมิชุมชน กฟผ. เป็นโครงการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกันดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิตประชาชน สร้าง
เครือข่ายชุมชนในพื้นที่นำร่องใน 4 ภูมิภาค ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs 2030) 17 ประเด็น
เป็นการพัฒนาที่เชื่อมโยงกันระหว่างมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินงานให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายภาครัฐ ตามบริบทแต่ละพื้นที่ ทั้ง 4 ภาค และเป็นโครงการที่สร้างความยั่งยืนในการพัฒนาชุมชนของ กฟผ. เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจ การยอมรับ สนับสนุนการดำเนินงานของ กฟผ. ทั้งการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าใหม่ในอนาคต

พื้นที่ที่ กฟผ. เข้าไปดำเนินงานโครงการภูมิชุมชน ทั้ง 4 ภาค

มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแบบครบมิติ ฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มุ่งเน้นการขับเคลื่อนงานโดยให้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการทรัพยากร ใช้ความรู้สมัยใหม่ควบคู่กับภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยมีพื้นที่นำร่องจำนวน 6 พื้นที่ ประกอบด้วย บ้านห้วยยาง บ้านดงบัง ต.ดงเมืองแอม บ้านหนองแวงเรือ บ้านทุ่งบ่อ บ้านนางิ้ว-นาโพธิ์ ต.นาโพธิ์ อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น และบ้านโคกศรี ต.นาดี อ.หนองแสง จ.อุดรธานี

ภาคเหนือ

มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแบบครบมิติ ฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่นำร่อง คือ บ้านนาขุม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ภาคใต้

มีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้สมุนไพร ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์แผนไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases - NCDs) โดยมีพื้นที่นำร่อง 3 พื้นที่ ประกอบด้วย ต.สะพานไม้แก่น อ.จะนะ จ.สงขลา ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ต.ควนโดน อ.ควนโดน จ.สตูล

ภาคตะวันออก

มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง มีพื้นที่นำร่องคือ ต.บางปะกง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา



การบูรณาการ โคก หนอง นา โมเดล วิถีใหม่ และโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

แผนยุทธศาสตร์ กฟผ. มีเป้าหมายในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและดูแลชุมชนให้ยั่งยืน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการในพื้นที่ 7 เขื่อนพระนาม 3 โรงไฟฟ้า เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2563-2565 โดยมีเป้าหมายจัดตั้งศูนย์ศึกษา และพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการดิน น้ำ ป่า ช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สมบูรณ์ของธรรมชาติ ได้แก่ การปนเปื้อนสารเคมีในแหล่งน้ำ และการพัฒนาระบบนิเวศของป่าให้มีความสมดุล พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในสังคมตามบริบทของพื้นที่ด้วยกระบวนการตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ดังนี้

1. พัฒนาคน

พัฒนาคน พัฒนาบุคคลากร กฟผ. และ ผู้นำชุมชนในท้องที่ให้เกิดความ เข้าใจใน การดำเนินงานที่ถูกต้อง และเป็นไปในทิศ ทางเดียวกันตาม หลักคิด หลักทฤษฏี หลักปฎิบัติ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึง สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง กฟผ. และชุมชนในพื้นที่

2. ปรับพื้นที่ โคก หนอง นา โมเดล

พื้นที่โคก หนอง นา โมเดล ปรับปรุง พื้นที่สร้างความเข้าใจแก่ชุมชนถึงแนว ทาง การดำเนินงานพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล ที่สามารถนำมาปฎิบัติได้จริงในพื้นที่

3. จัดเก็บข้อมูล

จัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ สภาพสิ่งแวดล้อม และ
การเปลียนแปลง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่

4. สร้างเครือข่ายรวมกลุ่มชุมชน

สร้างเครือข่ายรวมกลุ่มชุมชน และ เชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกันฟื้นฟู ดิน น้ำ ป่า รวมไปถึงส่งเสริมการใช้ หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ให้มีระบบบริหาร จัดการแบบบูรณาการ ทั้งสภาพแวดล้อม สังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่

5. สื่อสาร ขยายผล

สื่อสาร ขยายผล สร้างให้เกิด การรับรู้ถึงความพร้อมในการ ขยายองค์ความรู้และเป็นต้นแบบ แก่ผู้ที่สนใจ


ปี
2563
กำหนด 3 พื้นที่ ได้แก่
เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนภูมิพล
และกฟผ.แม่เมาะ

ปี
2564
<กำหนด 3 พื้นที่ ได้แก่
เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนสิริกิติ์
และเขื่อนสิรินธร

ปี
2565
กำหนด 4 พื้นที่ ได้แก่
เขื่อนจุฬภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์
โรงไฟฟ้าบางปะกง
และโรงไฟฟ้าวังน้อย
ปี 2563 กฟผ. ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ในพื้นที่ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนภูมิพล และกฟผ.แม่เมาะ เพื่อฟื้นฟู
สิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “โคก หนอง นา โมเดล” เป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการดิน น้ำ ป่า และศูนย์ศึกษา และพัฒนาฯ ออกแบบให้เข้ากับ ภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ ดังนั้นการจัดตั้งศูนย์ศึกษาพัฒนาฯ ในพื้นที่ กฟผ. จึงมีฐานเรียนรู้แตกต่างกันตามปัญหาของแต่ละท้องที่ อีกทั้งได้เชิญชวนจิตอาสา กฟผ. ไปร่วมกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี” ในพื้นที่ที่กำหนดในปี 2563 ด้วย

การดำเนินงานโครงการปลูกป่า กฟผ.

พ.ศ.
2558
พ.ศ.
2559
พ.ศ.
2560
พ.ศ.
2561
ถึง 2563
โครงการปลูกป่า กฟผ. เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โครงการปลูกป่า กฟผ. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติครบ 70 ปี เฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคล
เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ (84 พรรษา)
โครงการปลูกป่า กฟผ. “ปกป่า ป้องน้ำ ตามรอยพ่อ”
โครงการปลูกป่า กฟผ. เราทำความดีด้วยหัวใจปลูกป่า ชายเลน
เทิดไท้องค์ราชัน
พื้นที่ปลูกป่า กฟผ.
463,661 ไร่
วัตถุ
ประสงค์
ป่าฟื้น ดูดซับ COและปลดปล่อย O2
ป่าฟื้น คืนระบบนิเวศ
ป่าฟื้น คืนอาหาร
ป่าฟื้น คืนแหล่งต้นน้ำลำธาร
พื้นที่ปลูกป่า กฟผ.
แบ่งเป็น 2 ประเภท
ป่าบก 440,317 ไร่
พื้นที่ปลูกป่า กฟผ.
463,661 ไร่

โครงการ FSRU
ปัจจุบันไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า คิดเป็นปริมาณกว่าร้อยละ 60 ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดของประเทศ โดยได้มาจากอ่าวไทยและนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเริ่มลดลงแต่ความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมกลับสูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจากปัจจุบัน 5 ล้านตันต่อปีจะเป็น 22 ล้านตันต่อปี ในปี 2579 โดยคิดเป็นสัดส่วนของ LNG ที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 70 ของปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศ

โครงการ FSRU

FSRU คือโครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำที่เกิดขึ้นเพื่อการสร้างความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติระยะยาว และการรองรับเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ โดยการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ ที่ผ่านกระบวนการเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas – LNG) และขนส่งโดยเรือขนส่ง LNG เดินทางมายังท่าเทียบเรือประเทศปลายทาง ก่อนจะขนถ่าย LNG เข้าสู่ FSRU เพื่อแปลงสภาพเป็นก๊าซส่งเข้าสู่ท่อลำเลียงไปยังจุดหมายปลายทาง ได้แก่ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ จังหวัดสมุทรปราการ และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ จังหวัดนนทบุรี ผลิตไฟฟ้ารองรับการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุดของประเทศ EGAT-FSRU.pdf
จุดหมายปลายทาง

โรงไฟฟ้าพระนครใต้
จังหวัดสมุทรปราการ

โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ
จังหวัดนนทบุรี

FSRU แบ่งเป็น 3 โครงการย่อยคือ

โครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจาก ของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ (Floating Storage and Regasification Unit : FSRU)
โครงการท่าเทียบเรือ FSRU เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ที่ยึดสถานี FSRU ให้ลอยในตำแหน่งเดิมเพื่อ รองรับเรือขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Carrier – LNGC)
โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจาก FSRU ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครใต้ เป็นระยะทาง 60 กิโลเมตรโดยประมาณ

ขั้นตอนการส่ง ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)
มายังโรงไฟฟ้า

การผลิตก๊าซธรรมชาติ (Gas Production)
โรงงานเตรียมก๊าซธรรมชาติเหลว
โรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว
แท่นขุดเจาะปริโตเลียม
การเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลว
(Liquefaction Process)
ถังกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว
การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวให้กลับไปเป็นก๊าซ
(Regasication Process)
การขนส่ง
(Transportation)
เรือขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวขนถ่ายไปยัง FSRU
ท่าเทียบเรือของ FSRU
เรือขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว
การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวให้กลับไปเป็นก๊าซ
(Regasication Process)
ท่าเทียบเรือของ FSRU

วิธีการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

วิธีการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

ฟาร์มหอย
เขื่อนกั้นคลื่น
ท่อส่งก๊าซ
ถนนสุขุมวิท
ถนนเลียบคลอง
ท่อเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 นิ้ว
มีความหนา 22.23 มิลลิเมตร
ความลึก
2 เมตร
ความลึก
3 เมตร
ความลึกประมาณ
25 เมตร
เจาะลอด (HDD)
ความลึกไม่น้อยกว่า
15 เมตร
ขุดเปิด
ดันลอด (Boring)
เจาะลอด (HDD)
ระยะทางวางท่อในทะเลประมาณ
ระยะทางวางท่อบนบกประมาณ 38
 

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม