Play

นวัตกรรม
ด้านสิ่งแวดล้อม กฟผ.

เยี่ยมชมโครงการ


WALLBOX

เทคโนโลยีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ

ปัจจุบันนี้หากพูดถึงเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่หลายคนกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความกังวลให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ทั้งจำนวนสถานีชาร์จอุปกรณ์ชาร์จ ตลอดจนความปลอดภัย กฟผ. จึงมุ่งเน้นการเฟ้นหานวัตกรรมอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะขนาดเล็กสำหรับที่อยู่อาศัย (Smart EV Charger) โดยร่วมกับ Wallbox Chargers SL. ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพของประเทศสเปนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา และผลิตอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบสองทิศทาง (Smart Bi-Directional Charger)
ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกเป็นรายแรก นำเข้าอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านสุดอัจฉริยะภายใต้แบรนด์ Wallbox ที่ถูกออกแบบให้ดูทันสมัย มีขนาดเล็กกระทัดรัด ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง น้ำหนักเบา ติดตั้งได้ง่าย และได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานยุโรป

ปัจจุบัน มีการนำเข้ามา Wallbox ในประเทศไทยทั้งหมด 5 รุ่น คือ

  • รุ่น Quasar เป็นอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบสองทิศทางที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษสามารถจ่ายไฟฟ้าย้อนกลับระหว่างแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าภายในอาคารได้ (Vehicle to building : V2B)
  • Pulsar และ Pulsar Plus เป็นระบบชาร์จปกติแบบ AC Charger ที่มีขนาดเล็กน้ำหนักเพียง 1 กิโลกรัม แต่สามารถรองรับการชาร์จไฟให้กับรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่อย่างรถบัสได้
  • Commander 2 และ รุ่น Copper SB จะมีระบบ RFID สำหรับกำหนดกลุ่ม ผู้ใช้งานต้องการ ทำให้ภาคธุรกิจสามารถนำไปต่อยอดเป็นระบบให้บริการ แก่สมาชิก นอกจากนี้รุ่น commander 2 ยังมีจอระบบสัมผัสที่สามารถสั่งการค่าต่าง ๆ ได้เลย



EASY

ใช้งานง่ายแม้ไม่อ่านคู่มือ

COMPATIBLE

เข้ากันได้ง่ายกับอุปกรณ์อื่นๆ

FAST

ชาร์จเร็วกว่าอุปกรณ์ชาร์จทั่วไป

COMPATIBLE

เข้ากันได้ง่ายกับอุปกรณ์อื่นๆ

SMART

ตั้งเวลา และจำนวนที่ต้องการชาร์จ แจ้งเตือนเวลาชาร์จเสร็จ

เกม WALLBOX SPEED

วันนี้เราขออาสาพาทุกท่านไปยังโรงไฟฟ้า 9 แห่งของของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แต่จะไปทั้งทีจะไปแบบธรรมดาได้ยังไงล่ะ ต้องนี่เลย....รถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากชาร์จด้วยอุปกรณ์ อัฉริยะ ภายใต้แบรนด์ "Wallbox" ถ้าเพื่อน ๆ พร้อมแล้ว เรามาออกเดินทางกันเลย…

ออกเดินทาง

EGAT E-BIKE

เทคโนโลยจักรยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ

การส่งเสริมการใช้ EGAT E-Bike ภายในองค์การของ กฟผ. จะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 37 ตันต่อปี และลดฝุ่นประมาณ 838,000 มิลลิกรัมต่อปี โดยตั้งเป้าขยายผลสู่หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่อำเภอบางกรวยภายใต้โครงการBangkruai Green Community ภายในปี 2564

37 ตัน/ปี

ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

838,000 มิลลิกรัม/ปี

ลดฝุ่น

รองรับกลยุทธ์ Air TIME ในการดูแลคุณภาพอากาศ รวมถึงการพัฒนา EGAT E-Bike ในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
ร่วมมือกับสถานศึกษา และผู้ประกอบการพัฒนาหลักสูตร และฝึกอบรมการซ่อมบำรุงรักษารถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่าง ๆ สร้างระบบนิเวศ
ยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ และเดินหน้าสู่พลังงานสีเขียวอย่างยั่งยืน

เรือไฟฟ้า

เทคโนโลยีเรือไฟฟ้าอัจฉริยะ

สำหรับเรือไฟฟ้าที่จัดสร้างเป็นเรือไฟฟ้าประหยัดพลังงานแบบสองท้อง (Catamaran) และเรือไฟฟ้าประหยัดพลังงานแบบท้องเดียว (Mono hull) พร้อมเครื่องอัดประจุไฟฟ้า (Charger) ขนาด 175 kW จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเดินเรือไฟฟ้า สำหรับใช้ในกิจกรรม
ต่าง ๆ ของ กฟผ. เพิ่มประสิทธิภาพระบบการขนส่งสาธารณะ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาต่อยอดให้เกิดองค์ความรู้อย่างแท้จริงให้
เกิดขึ้นในประเทศไทย
175 เครื่องอัดประจุไฟฟ้า (Charger)

เส้นทางที่ 1

ท่าเรือพระปิ่นเกล้า
ท่าเรือวังหลัง
ท่าเรือสี่พระยา

เส้นทางที่ 2

ท่าเรือพระราม 7
ท่าน้ำนนทบุรี

ยานยนต์ไฟฟ้า

เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ

ยานยนต์ไฟฟ้านับเป็นหนึ่งในนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าสำคัญ ที่ กฟผ. มุ่งเน้นดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี โดย กฟผ. ได้พัฒนาแผน
ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับแผนขับเคลื่อนภารกิจด้านพลังงาน เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย

ปี 2559-2579 ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2559 โดยในปี 2561 ได้ดำเนินโครงการนำร่องสาธิตการใช้งานรถ
มินิบัสไฟฟ้า และสถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่สำนักงาน และโรงไฟฟ้าของ กฟผ. โดยรถมินิบัสไฟฟ้าที่ใช้คือรุ่น THAI EV Model EV-L1

ปัจจุบัน กฟผ. มีรถมินิบัสไฟฟ้า จำนวน 11 คันและสถานีอัดประจุไฟฟ้า จำนวน 23 สถานี ทั้งนี้เมื่อเทียบกับการใช้รถบัสขนาด 12 เมตร จำนวน 42 ที่นั่ง อัตราการใช้เชื้อเพลิง (ดีเซล) ประมาณ 2.5 กิโลเมตร/ลิตร พบว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยต่อคนต่อ 100 กิโลเมตร ลดลง 14.2 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ขนาดความจุ

130 KWh

มอเตอร์ไฟฟ้า

150 kWmax

ระยะทางต่อการ อัดประจุ

150 กิโลเมตร

ขนาด



2.44 x 8.55 x 3.15 เมตร

SMART GRID

SMART CITY
SMART ENERGY
SMART SYSTEM
SMART LEARNING

โครงข่ายสมาร์ทกริด 4 ด้าน ได้แก่ Smart Energy, Smart System, Smart City และ Smart Learning ทั้งนี้มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์สูงสุด เพื่อให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความมั่นคงของระบบไฟฟ้าที่สามารถรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติได้เป็นต้นแบบเศรษฐกิจสีเขียว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต พลังงาน และสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง เป็นต้นแบบเมืองที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั้งหมดนี้นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง

โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง

โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง